วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายงานความคืบหน้าโครงงานครั้งที่ 1 วันที่ 1 สิงหาคม 2556

ชื่อโครงงาน กล้วยฉาบ 


สมาชิกในกลุ่ม 

1. นางสาวกิตติมา ช่วยหนู 
2.นางสาวสุดารัตน์ หาหลัง 
3.นางสาวเ จนจริรา โอนิกะ 


ความคืบหน้าของโครงงาน
ทางกลุ่มของข้าพเจ้าได้ดำเนินการไปแล้วดังนี้ 

1.ศึกษาพันธุ์กล้วยที่จะใช้ในการทำกล้วยฉาบ 
2.ศึกษาวิธีการทำจากผู้รู้

การจำแนกกลุ่มของกล้วย


การจำแนกกลุ่มของกล้วย

การจำแนกกลุ่มของกล้วยทำได้ 2 วิธี คือ จำแนกตามวิธีการนำมาบริโภค และจำแนกตามลักษณะทางพันธุกรรม

การจำแนกตามลักษณะทางพันธุกรรม


หลังปี ค.ศ. 1955 นักวิชาการได้จำแนกพันธุ์กล้วยตามพันธุกรรมโดยใช้จีโนมของกล้วยเป็นตัวกำหนดในการแยกพันธุ์ กล้วยที่นิยมบริโภคกันในปัจจุบันมีบรรพบุรุษเพียง 2 ชนิด คือ กล้วยป่า และกล้วยตานี กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยป่ามีจีโนมเป็น AA กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยตานีมีจีโนมเป็น BB ส่วนกล้วยที่เกิดจากลูกผสมของกล้วยทั้ง 2 ชนิดจะมีจีโนมแตกต่างกันไป นอกจากนี้ ซิมมอนด์และเชปเฟิดได้เสนอให้ใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยารวมทั้งหมด 15 ลักษณะ มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา คือ สีของกาบใบ ร่องของกาบใบ ก้านช่อดอก ก้านดอก ออวุล ไหล่ของกาบปลี การม้วนของกาบปลี รูปร่างของกาบปลี ปลายของกาบปลี การซีดของกาบปลี รอยแผลของกาบปลี กลีบรวมเดี่ยว สีของดอกเพศผู้ สีของยอดเกสรเพศเมีย และสีของกาบปลี

การจำแนกตามวิธีการนำมาบริโภค

การจำแนกกล้วยตามวิธีการนำมาบริโภคสามารถแบ่งกล้วยออกเป็น 2 กลุ่มคือ กล้วยกินสด เป็นกล้วยที่เมื่อสุกสามารถนำมารับประทานได้ทันที โดยไม่ต้องนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน เพราะเมื่อสุก เนื้อจะนิ่ม มีรสหวาน เช่น กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว และกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร เป็นกล้วยที่เมื่อดิบมีแป้งมาก เนื้อค่อนข้างแข็ง เมื่อสุกยังมีส่วนของแป้งอยู่มากกว่ากล้วยกินสดมาก เนื้อจึงไม่ค่อยนิ่ม รสไม่หวาน ต้องนำมาต้ม เผา ปิ้ง เชื่อม จึงจะทำให้อร่อย รสชาติดีขึ้น เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก กล้วยเล็บช้างกุด

ในพื้นที่ เช่น ทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ผลไม้สกุล Musa ที่วางจำหน่ายได้แบ่งเป็น "กล้วย" และ "กล้าย" บนพื้นฐานของการนำไปใช้เป็นอาหาร ดังนั้น ผู้ผลิตและชีกีตา (Chiquita) ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายได้ผลิตวัสดุประชาสัมพันธ์สำหรับตลาดอเมริกาที่บอกว่า "กล้ายไม่ใช่กล้วย" ความแตกต่างนั้นคือกล้ายมีแป้งมากกว่าและหวานน้อยกว่า นิยมทานสุกกว่ากว่าทานดิบ มีเปลือกหนาสีเขียว เหลือง หรือดำ ซึ่งสามารถใช้บอกสถานะของความสุกงอมได้ ลินเนียสได้สร้างความแตกต่างระหว่างกล้วยและกล้ายดังกล่าวขึ้นเมื่อแรกตั้งชื่อ "สปีชีส์" ทั้งสองของ Musa สมาชิกของพันธุ์กล้วย "กลุ่มย่อยกล้าย" ที่เป็นอาหารที่สำคัญมากในแอฟริกาตะวันตกและละตินอเมริกามีลักษณะยาวแหลม ซึ่งมันได้รับการจำแนกว่าเป็นกล้ายแท้โดยพลอตซ์และคณะ (Ploetz et al.) ต่างจากกล้วยที่ใช้ประกอบอาหารพันธุ์อื่น กล้ายที่สูงแอฟริกาตะวันออก (East African Highland banana) ซึ่งเป็นกล้วยที่ใช้ประกอบอาหารในแอฟริกาตะวันออกนั้น จัดอยู่ในกลุ่มอื่น ดังนั้น จึงไม่มีคุณสมบัติเป็นกล้ายแท้ตามคำนิยามนี้
แนวทางหนึ่งที่จะแบ่งกล้วยออกเป็นกล้วยกินสดและกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งกล้ายเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งของกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร คือ พันธุ์ปลูก triploid กำเนิดมาจาก M. acuminataเพียงลำพังจะเป็นกล้วยกินสด ในขณะที่ พันธุ์ปลูก triploid ที่เป็นลูกผสมระหว่าง M. acuminata และ M. balbinosa (โดยเฉพาะกลุ่มย่อยกล้ายเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่ม AAB) เป็น "กล้าย" (ในที่นี้หมายถึงกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร)  เกษตรกรรายย่อยในประเทศโคลอมเบียปลูกพันธุ์กล้วยหลากหลายมากกว่าสวนเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ จากการศึกษาพันธุ์ปลูกเหล่านี้แสดงว่ากล้วยสามารถจัดกลุ่มได้อย่างน้อยสามกลุ่มตามพื้นฐานของลักษณะ ได้แก่ กล้วยกินสด กล้วยที่ใช้ประกอบอาหารที่ไม่ใช่กล้าย และกล้าย แม้ว่าจะมีการคาบเกี่ยวกันระหว่างกล้วยกินสดและกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์กลางความหลากหลายของกล้วย ทั้งกล้วยป่าและกล้วยพันธุ์ ความแตกต่างระหว่าง "กล้วย" และ "กล้าย" กลับไม่มีความหมาย ตามข้อมูลของวาลมาเยอร์ (Valmayor) และคณะ กล้วยหลายพันธุ์ใช้ทั้งรับประทานสดและประกอบอาหาร กล้วยที่ใช้ประกอบอาหารที่มีแป้งมีขนาดเล็กกว่ากล้วยรับประทานสด ช่วงสี ขนาด และรูปทรง หลากหลายกว่ากล้วยที่ปลูกหรือขายในแอฟริกา ยุโรป หรืออเมริกา ภาษาเรียกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่บ่งชี้ถึงความแตกต่างระหว่าง "กล้วย" และ "กล้าย" เหมือนอย่างในภาษาอังกฤษ (และภาษาสเปน) ดังนั้น ทั้งพันธุ์กล้วยหอมเขียว (Cavendish banana) ซึ่งเป็นกล้วยรับประทานสดที่รู้จักกันดี และพันธุ์กล้วยหิน (Saba banana) ที่นิยมใช้ประกอบอาหาร ถูกเรียกว่า pisang (ปีซาง) ในประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย, กล้วย ในประเทศไทย และ chuoi (ชวย) ในประเทศเวียดนาม กล้วยเฟอิ (Fe'i banana) ที่ปลูกและรับประทานในหมู่เกาะของมหาสมุทรแปซิฟิก มีต้นกำเนิดที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากกล้วยโบราณและกล้าย กล้วยเฟอิส่วนมากจะใช้ประกอบอาหาร แต่กล้วยคาแรต (Karat banana) ที่มีลักษณะสั้นป้อม มีเปลือกสีแดงสดต่างจากกล้วยรับประทานสดทั่วไป ใช้กินสด
รุปแล้ว ในเชิงพาณิชย์ในยุโรปและอเมริกา (แม้ไม่จัดเป็นพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็ก) ได้แยกความแตกต่างระหว่าง "กล้วย" ซึ่งรับประทานสดและ "กล้าย" ที่ใช้ประกอบอาหาร ขณะที่ในพื้นที่อื่นๆ ของโลก โดยเฉพาะอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีกล้วยหลายชนิด และไม่มีการแยกความแตกต่างระหว่างกล้วยทั้งสองกลุ่ม และไม่มีการแยกคำในภาษาถิ่น กล้ายเป็นหนึ่งในกล้วยหลายชนิดที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งไม่แตกต่างจากกล้วยรับประทานสด

สารพ้ดประโยชน์จากเปลือกกล้วย


สารพ้ดประโยชน์จากเปลือกกล้วย


 .....แค่เปลือกกล้วย ที่ดูเหมือนไร้ค่า.....
เปลือกกล้วยมีเยื่อเมือกซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังนี้


- สามารถนำมาทาผิวให้ความชุ่มชื้น แก่ผิวได้ในหน้าหนาวผิวหนังจะแห้งแตก ใช้เปลือกด้านในนำมาทาถูผิวหนังจะชุ่มชื่น ตึงเรียบเนียน


- สามารถนำมาทาถู บริเวณแมลง สัตว์กัดต่อย ลดอาการ บวม แดง คัน ได้


- สามารถนำมาหมักผม ขจัดรังแค หนังศรีษะแห้งเป็นขุย ผมแห้งหยาบกระด้าง  นำเปลือกมาขูดเอาเฉพาะเยื่อข้างในเปลือกมาผสมกับน้ำผึ้งให้เป็นเนื้อครีม เข้มข้นหมักเส้นผมไว้ประมาณ 30 นาที แล้วสระผมตามปกติ ก็จะทำให้หนังศรีษะปราศจากรังแค เส้นผมนุ่มสวย


- สามารถแก้ปวดเมื่อยได้โดยนำเอาเปลือกไปอังไฟ แล้วนำเอาเปลือกมาประคบบริเวณที่ปวดเมื่อย จะบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้


- สามารถนำมาถูคราบเขม่าตามหน้าเตาแก๊ส โดยนำเปลือกกล้วยถูบริเวณที่มีคราบเขม่าแล้วนำผ้าแห้งเช็ดถูอีกครั้งจะได้ เตาแก๊สที่สะอาดเหมือนใหม่อยู่เสมอ

ประวัติของกล้วย

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
               
           กล้วยเป็นไม้ดอกล้มลุกขนาดใหญ่ ทุกส่วนเหนือพื้นดินของกล้วยเจริญจากส่วนที่เรียกว่า "หัวหรือ "เหง้า" ปกติแล้ว ต้นกล้วยจะสูงและแข็งแรงพอสมควร ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นต้นไม้ ซึ่งแท้จริงแล้วส่วนที่คล้ายกับลำต้นคือ "ลำต้นเทียม" (pseudostem) ใบของกล้วยประกอบด้วย "ก้านใบ" (petiole) และแผ่นใบ (lamina) ฐานก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ กาบที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นทำให้เกิดลำต้นเทียม มีหน้าที่ชูก้านใบ พยุงให้พืชตั้งตรงดูคล้ายต้นไม้ เมื่อแรกเจริญขอบของกาบจะจรดกันคล้ายท่อ เมื่อมีใบเจริญขึ้นใหม่ที่ใจกลางลำต้นเทียม ขอบกาบที่จรดกันนั้นก็จะแยกออกจากกัน พันธุ์กล้วยนั้นมีความผันแปรมากขึ้นอยู่กับพันธุ์ปลูกและสภาพแวดล้อม โดยมาก สูงประมาณ เมตร (16 ฟุต) จาก 'กล้วยหอมแคระ (Dwarf Cavendish)' ซึ่งสูงประมาณ เมตร (10 ฟุต) ไปจนถึง 'กล้วยหอมทอง (Gros Michel)' ที่สูงประมาณ เมตร (23 ฟุต) หรือมากกว่า ใบแรกเจริญจะขดเป็นเกลียวก่อนที่จะแผ่ออก อาจยาวได้ถึง 2.7 เมตร (8.9 ฟุต) และกว้าง 60 ซม (2.0 ฟุต) แผ่นใบมีขนาดใหญ่ ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน โคนใบมน มีสีเขียวใบฉีกขาดได้ง่ายจากลม ทำให้บางครั้งมองดูคล้ายใบเฟิร์น รากเป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึก

             เมื่อกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ หัวจะสร้างใบสุดท้ายที่เรียกว่า "ใบธง"จากนั้นจะหยุดสร้างใบใหม่ และเริ่มสร้างช่อดอก (inflorescence) ลำต้นที่มีช่อดอกอ่อนบรรจุอยู่ จะพัฒนาขึ้นภายในลำต้นเทียม จนในที่สุดมันก็โผล่ออกที่ด้านบนลำต้นเทียม แต่ละลำต้นเทียมจะสร้างช่อดอกเพียงช่อเดียว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ปลี (banana heart)" (บางครั้งมีกรณีพิเศษ เช่นกล้วยในประเทศฟิลิปปินส์สร้างปลีขึ้นมาห้าหัว( ช่อดอกประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ มีใบประดับสีม่วงแดงหรือที่เรียกว่า "กาบปลี" (บางครั้งมีการเข้าใจผิดเรียกเป็นกลีบดอก) ระหว่างแถวของช่อดอกย่อย ช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ แถว ดอกตัวเมีย (ที่สามารถเจริญเป็นผลได้) จะอยู่ในช่อดอกย่อยที่บริเวณโคนปลี (ใกล้กับใบ) ดอกตัวผู้จะอยู่ที่ปลายปลี หรือส่วนที่เรียกว่า "หัวปลี"รังไข่อยู่ต่ำกว่าซึ่งหมายความว่ากลีบดอกขนาดเล็กและส่วนอื่นๆ ของดอกจะอยู่ในปลายรังไข่หลังให้ผล ลำต้นเทียมจะตายลง แต่หน่อหรือตะเกียงจะพัฒนาขึ้นจากตา (bud) ที่หัว ส่งผลให้กล้วยเป็นพืชหลายปี หากเกิดขึ้นหลายหน่อพร้อมกันจะเรียกว่า "การแตกกอ" ในระบบการเพาะปลูก จะอนุญาตให้เจิญเติบโตเพียงหน่อเดียวเท่านั้นเพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรพื้นที่ผลกล้วยพัฒนาจากดอกเพศเมีย กลุ่มของดอกเพศเมีย กลุ่มเจริญเป็นผลเรียกว่า "หวี (hands)" ซึ่งหวีหนึ่งๆ มีผลกล้วยประมาณ 20 ผล กลุ่มหวีบนช่อดอกเจริญเป็น "เครือ (banana stem)" ซึ่งอาจมี 3-20 หวี  

           ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ดผลกล้วยได้รับการบรรยายเป็น "leathery berry (ลูกเบอร์รี่ที่คล้ายแผ่นหนัง)" มีชั้นป้องกันภายนอก (เปลือก) มีสายบางๆ ตามยาว (มัดท่อลำเลียงโฟลเอ็ม) อยู่ระหว่างเปลือกและส่วนที่รับประทานได้ภายใน เนื้อกล้วยมีเนื้อนิ่มสีเหลือง มีรสหวานคล้ายขนม เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็ง มีสีดำ สำหรับในสายพันธุ์ปลูก เมล็ดกล้วยมีขนาดเล็กมากเกือบจะไม่มีเลย เหลือแค่เพียงจุดสีดำเล็กๆ ภายในเนื้อกล้วยเท่านั้น